การสัมมนากรอบแนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการกำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม
วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 13.30 น.
สำนักงานแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายวิชัย เลิศภัทรนันท์ แรงงานจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมาย นางวรัญรัศมิ์ ธนันท์จิระกุล นักวิชาการแรงงานชำนาญการ และนางตวันภร กุลพัฒน์ นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ เข้าร่วมรับฟังการสัมมนา กรอบแนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการกำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม หัวข้อการบรรยาย เรื่อง “แนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวแปรตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ( ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560” ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการวิเคราะห์ตัวแปรมาตรา 87 แก่คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในการกำหนดค่าจ้างรูปแบบต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ Application : ZOOM Cloud Meetings จาก โรงแรมเชียงออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมสำนักงานแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ
ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ นิยาม องค์ประกอบ แนวทางตาม Minimum Wage Fixing Convention ประเภทการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
2. ประเด็นเชิงนโยบาย Monitoring the Effects of minimum wages
3. การใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ Complex Formula ลักษณะการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ในประเทศต่างๆ เช่น Brazil , Costa Rica , Malaysai , France
4. สูตรการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย
โดย คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบ ดังนี้
1 ใช้สูตรคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิม ปี 2561 โดยกำหนด ค่า เเป็นรายจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่
2) ในการพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 87 พิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของ 4 ตัวแปรนี้เป็นหลักก่อน คือให้
– ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
– ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นฯ ตามคุณภาพ ของสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง
– ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ มีความเห็นว่า การพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพตามมาตรา 87 ไม่ควรเกิน +/- 3%